ภาษาไทย | English
เข้าสู่ระบบ!! บทความ


สถิติของเวบไซต์
เปิดเวบเมื่อ 20/08/2548
ปรับปรุงเวบเมื่อ 22/04/2567
ผู้ชมทั้งหมด
สินค้าทั้งหมด 1609
0205550016051


หมวดหมู่สินค้า/บริการ
ดัชนีราคา
รวมทุกหมวดหมู่ (1609)
 หมวดเครื่องมือวัดอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
กล้องถ่ายภาพความร้อน
เครื่องวัดฝุ่นละอองในอากาศ Particle Counter
เครื่องวัดอุณหภูมิ ในอาหาร
เครื่องวัดอุณหภูมิ ความชื้น
เครื่องบันทึกอุณหภูมิ ความชื้น Datalogger
เครื่องวัดดัชนีความร้อน WBGT
เครื่องวัดอุณหภูมิเทอร์โมคับเปิ้ล
เครื่องวัดอุณหภูมิร่างกาย
เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรด
เครื่องวัดความชื้นไม้วัสดุ
เครื่องวัดเสียง
เครื่องวัดแสง Lux meter
เครื่องวัดแสงอาทิตย์
เครื่องวัดแสง LED
เครื่องวัดแสงยูวี UV Meter
เครื่องวัดความเร็วลม แบบใบพัด
เครื่องวัดความเร็วลม แบบ Hot wire
เครื่องวัดความเร็วลม แบบ Pilot tube
เครื่องวัดความดันลม
เครื่องวัดความเร็วรอบ (rpm)
เครื่องวัดความหนา
เครื่องวัดความเรียบผิว
เครื่องวัดความสั่นสะเทือน
เครื่องวัดระยะทาง
เครื่องวัดกัมมันตรังสี Radiation
เครื่องวัดคลื่นไมโครเวฟ, วัดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า EMF
เครื่องมือวัดแรงดึงแรงกด
กล้องส่องในท่อ Borescope
ป้ายแสดงเวลา, นาฬิกาจับเวลา / Stopwatch
เครื่องวัดสภาพอากาศ ปริมาณน้ำฝน
 หมวดเครื่องตรวจวัดแก็ส, ก๊าซรั่ว
All in 1 Multi gas O2,CO,H2S,LEL
เครื่องตรวจจับแก๊สรั่ว LPG, NGV, LEL
เครื่องวัดออกซิเจน O2
เครื่องวัดก๊าซ CO
เครื่องวัดก๊าซ CO2
เครื่องวัดแก๊สฟอร์มาลดีไฮด์ (CH2O, HCHO)
เครื่องวัดน้ำยาแอร์รั่ว Refrigerant Leak Detector
 หมวดเครื่องมือวัด ทางไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์
แคลมป์มิเตอร์
เครื่องวัดความต้านทานดิน
เครื่องวัดฉนวนไฟฟ้า Insulation Meter
มัลติมิเตอร์
มิลลิโอห์มมิเตอร์ Milliohm Meter
Oscilloscopes
เครื่องวัดลำดับเฟส
เพาเวอร์ซัพพลาย
เครื่องวิเคราะห์กำลังไฟฟ้า
Voltage and Current Testers
Surface Resistance Meter
Electrostatic Field Meter
ปืนเป่าลมไอออนไนเซอร์ แอกัน Ionizer Air Gun
 หมวดเครื่องวัดคุณภาพน้ำ Water Quality
All in 1 pH/EC/ORP/TDS/Salinity/DO
pH Meter
pH meter แบบตั้งโต๊ะ
เครื่องวัดความเค็ม Salinity
Conductivity Meter
Conductivity/TDS Meter
เครื่องวัดตะกอน TDS Meter
เครื่องวัดคลอรีน Chlorine
เครื่องวัดออกซิเจนในน้ำ DO
เครื่องวัด COD
เครื่องวัดฟลูโอไรด์ Fluoride
เครื่องวัดค่าโออาร์พี ORP
Refractometer รีแฟรกโตมิเตอร์
เครื่องวัดความกระด้างน้ำ Total Hardness Meter
เครื่องวัดความขุ่นน้ำ Turbidity Meter
น้ำยาบัพเฟอร์ Buffer Solution
กระดาษลิตมัส
 แผงโซลาร์เซลล์ solar cell
-- โซล่าเซลล์ ยี่ห้อ SHARP
 หลอดประหยัดไฟ / LEDs
 เครื่องควบคุมการชาร์จไฟ
 แบตเตอรี่ /อินเวอร์เตอร์
 มุมนักประดิษฐ์ / ชุดคิท
 ไฟกระพริบ โซล่าเซลล์
 ชุดโฮมโซล่าเซลล์
 เครื่องกวนสารให้ความร้อน Hotplate stirrer
 Oven ตู้อบความร้อน
 เครื่องล้างอัลตราโซนิค Ultrasonic Cleaner
 เครื่องชั่งน้ำหนัก
เครื่องมือวัดเฉพาะด้าน
อุปกรณ์เสริม/อะไหล่
สินค้าแก็ดเจ็ต Gadget
ลูกค้าของเรา
เงื่อนไขการรับประกัน
นโยบายการเปลี่ยน/คืนสินค้า
EXTECH Thailand ประเทศไทย - ตัวแทนจำหน่าย



จดหมายข่าว
กรุณาใส่อีเมล์ของท่าน เพื่อรับข่าวสารที่น่าสนใจ



แบบสอบถามออนไลน์
ท่านรู้จักเว็บบริษัทจากสื่อใด
Search Engines
ลิ้งค์จากเว็บอื่นๆ
เว็บตลาดขายสินค้าต่า
หนังสือสิ่งพิมพ์
มีคนแนะนำ

เช็คสถานะการสั่งซื้อ


Pay online by TaradPay

บทความ
สู่ยุคของ LEDs แสงสว่างที่กำลังมาแทนหลอดแบบมีไส้ (อ่าน 6639/ตอบ 0)

สู่ยุคของ LEDs แสงสว่างที่กำลังมาแทนหลอดแบบมีไส้

     อุปกรณ์ตัวหนึ่งที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมากคือ การใช้หลอดไฟแบบ LEDs (Light-Emitting Diodes) มาแทนหลอดมีไส้แบบเดิมและเรื่องนี้เองที่เราจะจับมาพูดถึงในครั้งนี้
      หลอด LEDs มีหลักการทำงานที่แตกต่างจากหลอดมีไส้ที่นายโทมัส เอดิสัน ค้นคิดมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1879 อยู่มากหลอดธรรมดานั้นมีโลหะทำเป็นไส้หลอดเมื่อได้รับไฟมาจากขั้วทั้งสองข้างก็เกิดความร้อนจากนั้นแสงก็สว่าขึ้นมา แต่หลอด LEDs นี้ภายในหลอดไม่มีไส้พลังงานไม่ได้เชื่อมต่อกันโดยตรง แสงที่เห็น คือ แสงโฟตรอนที่เกิดจากปฏิกิริยาทางอิเล็กคทรอนิคส์ ตัว LEDs เองก็เปรียบได้กับอุปกรณ์อิเล็กคทรอนิคส์ตัวหนึ่ง อย่างพวกทรานซิสเตอร์ หรือไดโอดนั่นเอง
      เริ่มแรกเราจะพบ LEDs กับเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นวิทยุหรือเครื่องคิดเลขเนื่องจาก LEDs มีจุดเด่นที่ ขนาด ซึ่งจะเล็กกว่าหลอดมีไส้เยอะ ยิ่งในพื้นที่จำกัดแล้วหลอด LEDs ดูจะเป็นทางเลือกที่ดี ข้อดีต่อไปคือ ความทนทาน เพราะ LEDs ไม่มีไส้หลอดที่เชื่อมถึงกันโดยตรงแสงที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากความร้อน ดังนั้นหลอดจึงมีความทนทานมากกว่า อายุการใช้งานต่อหลอดยาวถึง 100,000 ชั่วโมงหรือหลายสิบเท่าของหลอดมีไส้ที่คุยว่าทนทานแล้ว แสงที่ได้จาก LEDs สามารถเห็นได้ชัดเจนกว่าแม้ในเวลากลางวันเราจึงมักเห็นการใช้ LEDs กับการแสดงสถานะต่าง ๆ ในเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น ไฟบอกเมื่อเสียบปลั๊กไฟแล้ว ข้อดีอีกข้อ คือ หลอด LEDs ประหยัดพลังงาน มากกว่าหลอดมีไส้เยอะ ส่วนข้อเสียของหลอด LEDs ที่สำคัญที่สุดน่าจะอยู่ที่ราคาซึ่งต้องจ่ายแพงกว่า 2 ถึง 10 เท่าทีเดียว ยิ่งหลอดใหญ่ไฟสว่างมากก็ยิ่งแพงมาก บางทีอาจถึง 50 เท่าโน่นเลย




     ด้วยข้อดีที่มากขนาดนี้แนวโน้มการใช้ LEDs จึงเพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปี โดยในปี 2003 ตลาดโตขึ้นจากปี 2002 ถึง 50 % ถ้าคิดเป็นยอดเงินมวลรวมแล้วปี 2003 LEDs สามารถทำยอดขายได้ 1 ใน 5 ของยอดขายหลอดไฟทั้งหมด คาดว่าถึงปี 2007 ยอดขาย LEDs จะสูงเกือบ ๆ 3 พันล้านเหรียญ ทั้งนี้ได้ส่วนช่วยมาจาการเติบโตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิคส์ซึ่งพุ่งขึ้นอย่างมากเนื่องจากระยะหลังการใช้งาน LEDs มีการปรับเปลี่ยนจากหลอดไฟแสดงผลกลายมาเป็นจอภาพหรือจอ LEDs ที่เราเห็นกันในโทรศัพท์มือถือแบบมีสีหรือจอ TV ติดรถยนต์
     
ความจริงการใช้ LEDs บนรถนั้นช้ากว่าอุปกรณ์ภายในบ้านอื่น ๆ อย่างหลอด LEDs บนรถนั้นเราเพิ่งจะเริ่มเห็นเมื่อสัก 10 ปีมานี่เองส่วนในอุปกรณ์อื่น ๆ เห็นมานานกว่านั้นเยอะ เริ่มแรกสำหรับการใช้ LEDs บนรถจะนำไปใช้ที่แผงหน้าปัดก่อน โดยจะเป็นไฟเตือนต่าง ๆ เช่น ไฟเตือนน้ำมันเครื่องต่ำ ไฟเลี้ยวหรือกระทั่งประตูปิดไม่สนิท ซึ่งจนถึงตอนนี้รถแทบทุกคันน่าจะเป็นแบบนี้ทั้งหมดแล้ว แต่สำหรับอนาคตอันใกล้ LEDs จะไม่จำกัดอยู่ที่ไฟบนแผงหน้าปัดอย่างเดียว แต่คาดว่าจะครอบคลุมไปในทุกจุดแทนที่หลอดมีไส้เนื่องจากประโยชน์ด้านต่าง ๆ ที่กล่าวไปแล้ว

LEDs ได้เปรียบเรื่องความง่ายต่อการติดตั้ง
     อย่างแรกที่จะกล่าวถึงสำหรับการใช้ LEDs ในรถยนต์คือ นำ LEDs มาแทนหลอดไส้ตามจุดต่าง ๆ ภายในรถยนต์ไม่ว่าจะเป็นไฟหลักในห้องโดยสาร ไฟอ่านแผนที่ หรือไฟดวงเล็ก ๆ ตามที่วางแก้ว ไฟที่พื้นขอบประตูหรือที่เขี่ยบุหรี่ เหล่านี้จะถูกเปลี่ยนทั้งหมด ประเด็นสำคัญที่ทำให้ LEDs ถูกเลือกมาแทนหลอดมีไส้อยู่ที่ความสะดวกในการติดตั้ง เพราะ LEDs มีขนาดเล็กและบางกว่าหลอดมีไส้จึงสามารถใส่ลงไปในตำแหน่างต่าง ๆ ได้ง่ายกว่า ปัจจุบันยังไม่มีการใช้งานอย่างแพร่หลายนัก แต่ก็มีผู้ผลิตหลายค่ายเริ่มพัฒนาอย่างจริงจังแล้วรถรุ่นถัดไปน่าจะได้เห็นเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น
     ส่วนไฟที่แผงหน้าปัดนั้นถึงตอนนี้มีใช้กันหลายเจ้าแล้วอนาคตจะมากกว่านี้ รวมไปถึงพลิกแพลงมากกว่าอีกด้วย การพลิกแพลงที่ว่าคือ สามารถเปลี่ยนสีของแสงได้ตามสภาวะที่แตกต่างกันไป เช่น ไฟเตือนดวงหนึ่ง ในกรณีปกติแสงอาจจะเป็นสีเขียว แต่เมื่อมีสิ่งผิดปกติแสงอาจจะเป็นสีเหลือง หรือถ้าอันตรายจนรถจับไม่ได้ก็เป็นสีแดง ซึ่งทั้งหมดใช้เพียงหลอด LEDs ดวงเดียวเท่านั้น การเปลี่ยนสี LEDs อาจจะใช้กับไฟในห้องโดยสารอื่น ๆ ที่กล่าวไปแล้วด้วยเพื่อสร้างบรรยากาศที่แตกต่างกันในรถแต่ละรุ่นเช่นกันว่า รถสปอร์ตอาจจะใช้สีแดงเพื่อความเร้าใจ ส่วนรถวัยร่นจะเป็นสีเจ็บ ๆ อย่างสีเหลือง สีน้ำเงินหรือสีชมพูเพื่อความเหมาะสม ถ้าเป็นหลอดมีไส้ก็ต้องผลิตหลอดขึ้นมาใหม่ในแต่ละสี แต่ LEDs นี่ใช้เพียงแค่การกำหนดค่าสีด้วยระบบอิเล็กทรอนิคส์เท่านั้น หรือถ้ารถรุ่นไหนใจป้ำให้ระบบควบคุมที่ว่ามาด้วยคราวนี้จะเปลี่ยนแสงสีภายในรถทุกวันเลยก็ย่อมได้
      การนำเอา LEDs มาใช้แสดงผลบนกระจกหน้าด้วยการยิงแสงขึ้นมาจากแผงบนคอนโซลนั้นก็ใช้ LEDs มาตั้งแต่แรก ต่อไปจะพัฒนาให้ดีขึ้นด้วยการควบคุมความเข้มของแสงอัตโนมัติตามสภาพแสงภายนอกเช่น ขับเวลากลางวันแสงจะเข้มมากเพื่อให้เห็นได้อย่างชัดเจน ถ้าในเวลากลางคืนระบบจะหรี่แสงลงเพื่อไม่ให้รบกวนการมองตอนขับรถ ระบบนี้มีใช้บนรถบางรุ่นแล้วซึ่งเป็นผลงานจาก Siemens

แทนไฟหน้าในอนาคต
     การใช้ไฟหน้า LEDs นั้นเราเคยพูดจากครั้งที่แล้ว แต่คราวก่อนเราเน้นไปที่เรื่องของการประหยัดพลังงาน มาคราวนี้มาดูผลดีของไฟแบบนี้กัน หลอด LEDs ไม่มีไส้หลอดดังนั้นจึงสามารถควบคุมแสงได้หลายรูปแบบตามการจ่ายพลังงาน ซึ่งนี่ก็สอดคล้องกับระบบไฟแบบ "อัจฉริยะ" (Intelligent) ที่วางแผนมาไฟหน้า Intelligent จะสามารถปรับมุมทางซ้ายและขวาของแสงได้ตามต้องการนั่นหมายถึงไม่จำเป็นต้องมีไฟหรี่หรือไฟสูงอีกต่อไป เพียงแต่ปรับตั้งค่าเท่านั้น นี่ถ้าก้าวหน้ากว่านั้นอีกไฟหน้าแบบนี้อาจจะแทนไฟเลี้ยวด้วยเพราะอย่าลืมว่า LEDs สามารถเปลี่ยนสีได้ด้วยปัญหาตอนนี้อยู่ ที่ราคาเพียงอย่างเดียว ถ้าถูกลงเมื่อไรค่ายรถยนต์ที่ใช้ไฟแบบ HID จะหันมาใช้ LEDs อย่างแน่นอน ขณะนี้การตกแต่งอาคารบางจุดก็มีการใช้ LEDs กันแล้วซึ่งก็ได้เสียงตอบรับดีทีเดียว



ภาพแสดงให้เห็นการสะท้อนของแสงจากหลอด LEDs
     ไฟหน้าสำหรับรถยนต์ที่ใช้ LEDs เต็มรูปแบบยังไม่มีขายจริงตอนนี้ คาดว่าอย่างเร็วที่สุดไฟหน้า LEDs คันแรกน่าจะออกขายในปี 2007 เนื่องจากต้องรอเวลาให้ราคาของมันถูกกว่านี้สักหน่อย จนพอที่จะใส่ขายในรถยนต์ได้ แต่ก็มีการเริ่มขึ้นบางส่วนแล้ว เมื่อต้นปีนี้เอง AUDI ได้ออกรถ A 8 รุ่นท้อปซึ่งจะมาพร้อมกับไฟหน้า LEDs แต่ไม่ใช่แบบที่สามารถใช้เวลากลางคืนได้เพราะเป็นรุ่น Daytime Running Lamp (DRL) คือ ใช้เปิดในเวลากลางวันคล้ายไฟหรี่อย่างที่เราคุ้น ไฟแบบนี้จำเป็นสำหรับประเทศแถบยุโรป เนื่องจากบางประเทศเขามีกฏว่าแม้เป็นเวลากลางวันขับรถก็ต้องเปิดไฟเนื่องจากพบเจอกับหมอกได้บ่อย ประโยชน์ที่ได้ไม่ใช้เปิดไฟให้เราเห็นทางแต่เปิดไว้ให้ผู้ใช้ถนนคนอื่นเห็นเราต่างหาก ส่วนเวลากลางคืน A 8 ยังคงใช้ไฟหน้าแบบเดิมอยู่ แต่เท่านี้ก็ทำให้รถ AUDI A 8 เป็นรถรุ่นแรกที่ให้ไฟหน้าแบบ LEDs มาจากโรงงาน (แม้จะยังไม่ถึงกับเต็มตัวก็ตาม) นี่ถือเป็นบันไดขั้นแรกสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

LEDs ไฟท้ายอันนี้เห็นบ่อย
     สองอันแรกเรียกว่าอยู่ในขั้นต้น ๆ เท่านั้น ส่วนไฟท้ายที่ใช้ LEDs นั้นก้าวหน้าไปไกลกว่าเพราะถึงตอนนี้เริ่มใช้กันมาหลายสิบรุ่นแล้ว จนเราสามารถเจอได้บ่อย ๆ บนถนนทุกวันนี้ การเปลี่ยนไฟท้ายมาใช้แบบ LEDs นั้นมีประโยชน์สำคัญที่ความปลอดภัยเป็นหลักเนื่องจากหลอด LEDs สามารถสร้างแสงได้เร็วกว่าหลอดมีไส้อยู่ 200 มิลลิวินาที หรือ 2 ส่วน 10 วินาที ดูเหมือนว่าต่างกันเล็กน้อยมากแต่ด้วยความเร็วแค่ 100 กม./ชม. น้นหมายถึงระยะที่ต่างกันถึง 4 เมตรแล้ว และจะยิ่งเพิ่มระยะขึ้นที่ความเร็วสูงและด้วยการใช้เทคโนโลยีน้อยกว่าไฟหน้าเยอะดังนั้นจึงไม่แปลกเลยที่รถหลายรุ่นหันมาใช้ไฟท้ายแบบ LEDs กัน
      แม้วงการรถยนต์เริ่มที่จะหันมามอง LEDs กันมากขึ้นแต่ก็มีผู้เชี่ยวชาญในวงการได้ให้ความเห็นอย่างน่าฟังว่าการเปลี่ยนจากหลอดมีไส้มาเป็นหลอด LEDs ไม่ว่าจะทั้งภายนอกหรือภายในรถนั้นคงไม่ส่งผลดีถึงขนาดจะดึงดูดใจจนทำให้ลูกค้าซื้อรถได้ แต่ LEDs กลับจะส่งผลต่อผู้ผลิตรถมากกว่าเพราะราคาต้นทุนที่สูงขึ้น ส่วนผู้บริโภคจะได้ในเรื่องของความสวยงามเป็นหลักแต่ก็ซ่อนประโยชน์ที่ผู้ใช้มองไม่เห็นก็คือ อายุของหลอดใช้ได้นานขึ้น ค่าบำรุงรักษาตรงนี้ก็ลดน้อยลง

OLEDs ของใหม่ที่กำลังจะเข้ามาแทน
     ก่อนจะจบไปสำหรับคอลัมน์นี้เราจะไปดูเทคโนโลยีใหม่ของระบบ LEDs นั้นก็คือ OLEDs หรือ Organic Light-Emitting Diodes ด้วยการเปลี่ยนวัสดุที่ใช้เคลือบผิดวรมไปถึงกรรมวิธีในการเปล่งแสงทำให้ OLEDs มีจุดเดีนที่หลอดจะมีความหนากว่ากระดาษแข็งเล็กน้อยเท่านั้น แถมด้วยความยืดหยุ่นตัวจนสามารถงอหรือพับได้โดยไม่มีความเสียหายเกิดขึนด้วยแถมการประหยัดพลังงานยังทำได้ดีกว่า LEDs เสียอีก ตรงนี้นับเป็นก้าวสำคัญของวงการเนื่องจากความบางและหยุ่นตัวนี้สามารถเพิ่มความง่ายต่อการติดตั้ง OLEDs ให้มากยิ่งขึ้นไปอีก ในอนาคต เราคงได้เห็นจอภาพที่โค้งงอหรือพับกลาได้ มุมมองมันยังมากกว่า LEDs เดิมอีก ขณะนี้ OLEDs เริ่มนำมาใช้งานจริงแล้ว ในกล้องถ้ายภาพดิจิตอลและโทรศัพท์มือถือบางรุ่น อนาคตคงจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สำหรับในรถยนต์ตอนนี้เริ่มมีหลายผู้ผลิตทีให้ความสนใจ OLEDs กันแล้ว นับวันรอบ ๆ ตัวเราจะยิ่งคล้ายนิยายวิทยาศาสตร์เข้าไปทุกที
      นอกจากการใช้ LEDs ในรถยนต์แล้วอุตสาหกรรมอื่น ๆ ยังมีการใช้มากขึ้นอีกด้วยอย่างที่เห็นชัดเจนคือ โทรศัพท์มือถือและกล้องดิจิตอล ทั้งสองอย่างนี้ใช้ LEDs เป็นชิ้นส่วนสำคัญและมีแนวโน้มการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ส่วนอื่น ๆ เริ่มมีการใช้งานบ้างแต่ไม่มากอย่างไฟฉายที่ใช้ LEDs เมืองนอกขายแล้ว หรือที่เห็นได้ในบ้านเราก็คือ สัญญาณไฟจราจรก็ไฟเขียว-ไฟแดงนั่นแหละ บางจุดในกรุงเทพฯ หันมาใช้ LEDs บ้างเหมือนกัน (สังเกตได้ที่ดวงไฟที่เป็นจุดเล็ก ๆ เรียงต่อกัน) จากข้อมูลเหล่านี้บรรดาผู้เชี่ยวชายจึงเชื่อว่า LEDs จะเข้ามาแทนหลอดไส้แบบเดิมอย่างเต็มตัวในไม่ช้านี้ และเช่นเคยที่จะต้องกล่าวว่าคงต้องคอยดูกันต่อไป

   
ภาพของหลอด LEDs ที่ถูกนำไปใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ




   

ที่มา นิตยสารยานยนต์
www.carvariety.com

 

สินค้า/บริการ แนะนํา...
DT-980Y CEM กล้องถ่ายภาพความร้อนสําหรับวัดไข้ Thermal Imager Human body Temperature
ปกติ 50,000.00 บ.
พิเศษ 32,000.00 บ.
DT-870Y CEM กล้องถ่ายภาพความร้อนสําหรับวัดไข้ Thermal Imaging Human body Temperature
ปกติ 20,000.00 บ.
พิเศษ 17,900.00 บ.
เครื่องวัดก๊าซ CO2 Humidity Temp. Monitor รุ่น 7729 ***โปรโมชั่น
ปกติ 10,900.00 บ.
พิเศษ 7,900.00 บ.
Solar Power Meter เครื่องวัดความเข้มแสงอาทิตย์ กำลังงาน รุ่น DT-1307
ปกติ 4,500.00 บ.
พิเศษ 4,000.00 บ.
4 in1 Humidity-Temperature-Light-Anemometer อุณหภูมิ ความชื้น แสง ความเร็วลม รุ่น 850070
ปกติ 8,200.00 บ.
พิเศษ 7,900.00 บ.
เครื่องวัดค่ากรดด่าง Handheld pH Meter Kit รุ่น 840088
ราคา 8,500.00 บ.
เครื่องวัดออกซิเจนในน้ำ Dissolved Oxygen Meter Kit รุ่น 850081DOK
ราคา 18,000.00 บ.
เครื่องวัดอุณหภูมิ Thermocouple Thermometer Basic Type K/J รุ่น 800004
ปกติ 4,500.00 บ.
พิเศษ 4,200.00 บ.
เครื่องตรวจหารอยรั่วของแก๊สไวไฟสำหรับแก๊ส NGV, LPG Gas Leak Detector รุ่น 7201
ปกติ 6,200.00 บ.
พิเศษ 5,890.00 บ.
เครื่องวัดแสงยูวี UVA/UVB Light Meter รุ่น 850009
ราคา 10,400.00 บ.
เครื่องวัดอุณภูมิ ความชื้น Humidity Thermometer, High Accuracy รุ่น DT-321S
ปกติ 5,000.00 บ.
พิเศษ 4,750.00 บ.
กล้องส่องในท่อ Video Borescope รุ่น CEM BS-150
ราคา 6,500.00 บ.
เครื่องวัดความเร็วรอบ Contact/Non-contact Tachometer แบบแสง/แบบสัมผัส รุ่น DT-6236B
ปกติ 3,300.00 บ.
พิเศษ 2,800.00 บ.
นาฬิกาจับเวลา Stopwatch พร้อม เครื่องวัดอุณหภูมิ ความชื้น รุ่น HW30
ราคา 1,930.00 บ.
เครื่องตรวจจับแก็สรั่ว มีเทน,LPG,NGV,LEL Combustible Gas Detector จอ LCD indication รุ่น SPD202EX
ปกติ 10,000.00 บ.
พิเศษ 9,500.00 บ.
เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟาเรด แบบไม่สัมผัส Infrared Thermometers รุ่น AR882+
ปกติ 18,500.00 บ.
พิเศษ 14,500.00 บ.
เครื่องวัดความเร็วลม อุณหภูมิ Thermo-Anemometer รุ่น 8908
ราคา 2,300.00 บ.
 



© 2001-2010. TARAD.com. All Rights Reserved.